วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

สาระย่อ มหาชาติชาดก (พระมหาเวสสันดร) 
1.กัณฑ์ทศพร 


กล่าวถึงการอภิเษกของพระเจ้ากรุงสญชัยแห่งแคว้นสีพีกับพระนางผุสดีพระธิดาพระเจ้ากรุงมัทราช ซึ่งในอดีตชาติเคยบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นมเหสีพระพระอินทร์ เมื่อจุติจากสวรรค์ได้ทูลขอพร 10ประการและได้เป็นพุทธมารดาสมปรารถนา


ข้อคิดประจำกัณฑ์


ต้องกระทำความดี




2.กัณฑ์หิมพานต์
กล่าวถึงการประสูติของ พระเวสสันดร” พระราชโอรสของพระนางผุสดีกับพระเจ้ากรุงสญชัยโดยวันเดียวกันนั้นช้างเผือกชื่อ ปัจจัยนาค” ได้ถือกำเนิดที่โรงช้างต้น พระเวสสันดรได้อภิเษกสมรสกับพระนางมัทรีและมีพระราชโอรสนาม ชาลี” กับพระธิดานาม "กัณหา" และมี ๘ พราหมณ์คน จากเมืองกลิงครัฐ มาทูลขอช้างปัจจัยนาค และพระเวสสันดรทรงโปรดยกให้ เป็นเหตุให้พระเวสสันดรถูกขับออกจากวัง

ข้อคิดประจำกัณฑ์

คนดีเกิดมานำพาโลกให้ร่มเย็น



3.ทานกัณฑ์ 
พระเจ้ากรุงสัญชัยจำต้องเนรเทศพระราชโอรสด้วยเสียพระทัยนักพระนางผุสดีทูลขออภัยโทษก็มิเป็นผลสำเร็จ พระเวสสันดรทูลลาพระมารดาพระบิดาและขอบริจาคทานให้พิธีสัตตสตกมหาทาน คือ ช้าง ม้า โคนม รถม้า ทาสและทาสี อย่างละ๗๐๐ บริจาคให้คนทั่วไป


ข้อคิดประจำกัณฑ์
๑.ความรักของแม่ ความห่วงของภรรยา


4.กัณฑ์วนปเวสน์
กล่าวถึงกษัตริย์ทั้ง เมื่อเสด็จไปถึงมาตุลนคร บรรดากษัตริย์ได้ทูลเชิญให้พระเวสสันดรครองเมืองแต่พระเวสสันดรได้ทรงปฏิเสธ พระเจ้าเจตราษฎร์จึงให้เจตบุตรพรานป่าไปดูแลมิให้ผู้ใดล่วงล้ำเข้าไปรบกวนพระเวสสันดร ซึ่งเมื่อเสด็จไปจนถึงเขาวงกต ได้พบพระอาศรมที่พระอินทร์สั่งให้พระวิศรรมเทพบุตรมาเนรมิตรไว้ให้ พระนางมัทรีและชาลีกุมาร กัณหากุมารีต่างก็เหน็ดเหนื่อยสะอื้นไห้ด้วยความลำบากยากเข็ญ พระเวสสันดรจึงทรงเปลี่ยนเครื่องทรงเป็นนุ่งห่มของนักบวช พระนางมัทรีก็ทรงบวชเป็นดาบสินี บำเพ็ญศีลกันในป่าอยู่ที่อาศรม พระนางมัทรีต้องปัดกวาดอาศรมทุกวันแล้วก็หาผลไม้ในป่า ตักน้ำมาเตรียมไว้
ในป่านั้นอุดมด้วยผลไม้นานาชาติ มีสระโบกขรณีน้ำสะอาดใสไหลเย็น มีพฤกษาร่มรื่นและมีดอกไม้หอมหวลทั่วทั้งป่าราวกับวิมานทิพย์ 
ข้อคิดประจำกัณฑ์
๑. ยามเห็นใจ ยามจน ยามเจ็บ ยามจากเป็นยามที่ควรจะได้รับความเหลียวแล



5.กัณฑ์ชูชก 
กล่าวถึงชูชกพราหมณ์ชราชาวเมืองกลิงคราษฎร์ มีภรรยาสาวชื่อนางอมิตตดา ซึ่งปรนนิบัติชูชกอย่างดี พราหมณ์หนุ่มจึงพากันอิจฉาด่าทอ ทุบตีภรรยาที่ไม่ปรนนิบัติต่อตนเช่นนั้นเลย นางพราหมณีเหล่านี้นั้นโกรธแค้นจึงมารุมต่อว่านางอมิตตดาอย่างรุนแรง ด้วนเทวดาดลใจ นางจึงบังคับให้ชูชกไปขอสองกุมารจากพระเวสสันดรมารับใช้นาง ชูชกจำใจทำตามเดินทางไปเขตเขาคันธมาทน์ใช้เพทุบายหลอกพรานเจตบุตรว่าเป็นทูตมาเชิญพระเวสสันดรกลับแคว้นสีพี เจตบุตรหลงเชื่อจึงบอกทางไปเขาวงกตให้
ข้อคิดประจำกัณฑ์
๑.ของที่รักและหวงแหน ที่โบราณห้ามฝากผู้อื่นไว้คือ เงิน ม้า เมีย ยิ่งน้องเมียห้ามฝากเด็ดขาด อันตรายมาก



6.กัณฑ์จุลพน
กล่าวถึง การบอกทางไปเขาวงกตให้ชูชกอย่างละเอียดของเจตบุตรพรานป่าพร้อมเลี้ยงอาหารและจัดเสบียงให้ชูชกไปกินกลางทาง
ข้อคิดประจำกัณฑ์
๑. มีอำนาจหากขาดปัญญาย่อมถูกหลอกได้ง่าย



7.กัณฑ์มหาพน 
กล่าวถึงชูชกเมื่อเดินทางไปถึงอาศรมพระอัจจุตฤษีก็ได้ใช้เพทุบายลวงว่าจะมาสนทนาธรรมกับพระเวสสันดร พระอัจจุตฤษีหลงเชื่อจึงต้อนรับเลี้ยงดูอย่างดีแล้วแนะทางไปเขาวงกตให้อย่างละเอียด เมื่อไปถึงเป็นเวลาพลบค่ำ เฒ่าชูชกก็ซ่อนตัวบนชะง่อนเขาด้วยคิดว่า ต้องรอรุ่งเช้าให้พระนางมัทรีออกไปหาผลไม้ เพราะนางคงไม่ยอมยกลูกให้ใครแน่
ข้อคิดประจำกัณฑ์
๑. ฉลาดแต่ขาดเฉลียว มีปัญญาแต่ขาดสติก็เสียทีพลาดท่าได้




8.กัณฑ์กุมาร
เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงให้ทานสองโอรสแก่เฒ่าชูชก พระนางมัทรีฝันร้ายเหมือนบอกเหตุแห่งการพลัดพราก  รุ่งเช้าเมื่อพระนางมัทรีเข้าป่าหาอาหารแล้ว  ชูชกจึงเข้าเฝ้าทูลขอสองกุมาร สองกุมารลงไปซ่อนตัวอยู่ที่สระ  พระเวสสันดรจึงเสด็จติดตามหาสองกุมารแล้วมอบให้แก่ชูชก
ข้อคิดประจำกัณฑ์
๑. ความเป็นผู้รู้จักกาลเทศะ ไม่ผลีผลามเข้าไปขอรอจนพระมัทรีเข้าป่าจึงเข้าเฝ้า เพื่อของสองกุมาร เป็นเหตุให้ชูชกประสบผลสำเร็จใจสิ่งที่ตนปรารถนา ดังภาษิตโบราณว่า "ช้า ๆ จะได้พร้าเล่มงาม ด่วนได้สามผลามมักพลิกแพลง" ช้าเป็นการนานเป็นคุณ ผู้รู้จักโอกาส มีมารยาท กล้าหาญ ใจเย็น เป็นสำเร็จ


9.กัณฑ์มัทรี 
กล่าวถึงพระนางมัทรีออกจากพระอาศรมไปหาผลไม้ในป่า พระทัยหวาดหวั่นด้วยประหวัดถึงสองกุมาร ผลไม้ก็หาได้ยากจนพลบค่ำกำลังจะกลับอาศรม เทวดาก็จำแลงเป็นสัตว์ร้ายขวางอยู่พระนางมัทรีต้องวิงวอนอย่างอ่อนโยนอยู่นานจึงผ่านมาได้ เมื่อกลับถึงอาศรมพระเวสสันดรมิได้แจ้งความจริงโดยทันทีด้วยเกรงว่านางจะโศกเศร้าจนไม่อาจทนทานได้ จึงกล่าวแสร้งด้วยโวหารแสดงความหึงหวง พระนางมัทรีน้องพระทัยออกเที่ยวแสวงหาสองกุมารตลอดคืนจนสลบไป พระเวสสันดรแก้ไขให้ฟื้นขึ้นแล้วตรัสบอกความจริง พระนางมัทรีจึงทรงอนุโมทนา
ข้อคิดประจำกัณฑ์
ลูกคือแก้วตาดวงใจของผู้เป็นพ่อแม่ "ลูกดีเป็นที่ชื่นใจของพ่อแม่ ลูกแย่พ่อแม่ช้ำใจ" รักใครเล่าจะเท่าพ่อแม่รัก ห่วงใดเล่าจะเท่าพ่อแม่ห่วง หวงใดเล่าจะเท่าพ่อแม่หวง ให้ใครเล่าจะเท่าพ่อแม่ให้ เพราะฉะนั้นพึงเป็นลูกแก้ว ลูกขวัญ ลูกกตัญญู ที่ชาวโลกชื่นชม 
พรหมก็สรรเสริญฯ


10.กัณฑ์สักกบรรพ
กล่าวถึงพระอินทร์เมื่อทรงทราบถึงบุตรทานนี้ เกรงว่าจะมีผู้อื่น มาขอพระนางมัทรีจึงแปลงองค์เป็นพราหมณ์มาทูลขอเสียก่อน เมื่อพระเวสสันดรประทานให้ พระอินทร์ทรงอนุโมทนาแล้วถวายพระนางคืนพระเวสสันดร จากนั้นจึงแสดงองค์ให้ปรากฏและให้พรพระเวสสันดร ประการ
ข้อคิดประจำกัณฑ์
การทำดีแม้ไม่มีคนเห็น ก็เป็นความดีอยู่วันยังค่ำ ดุจทองคำแม้จะอยู่ในตู้โชว์ หรือในกำปั่นก็เป็นทองคำอยู่นั่นเอง เข้าลักษณะว่า ความ(ของ)ดีดีเด็ดเหมือนเพชรเหมือนทอง ถึงไร้เจ้าของก็เหมือนตัวยัง ถึงใส่ตู้อุด ถึงขุดหลุมฝัง ก็มีวันปลั่งอะหลั่งฉั่งชู การทำความดีแม้ไม่มีคนเห็น แต่เทพยดาอารักษ์เบื้องบนท่านย่อม


11.กัณฑ์มหาราช 
กล่าวถึงเมื่อชูชกพาสองกุมารหลงทางมาสู่หน้าพระลานกลางเมืองสีพี พระเจ้ากรุงสญชัยทอดพระเนตรเห็นเข้า เมื่อทรงทราบเรื่องก็ได้ทรงไถ่สองกุมารคืนตามพระเวสสันดรกำหนดค่าไว้ พระชาลีได้มีโอกาศชี้แจงเหตุผลการบำเพ็ญความดีของพระเวสสันดรต่อหน้าหมู่อำมาตย์ทั้งหลาย พระเจ้ากรุงสญชัยจึงเตรียมไพร่พลเสด็จไปรับพระเวสสันดรกลับเมือง พอดีกับที่พราหมณ์ คนจากเมืองกลิงคราษฎร์นำช้างปัจจัยนาคมาคืน พระเจ้ากรุงสญชัยจึงทรงให้จัดขบวนแต่งกองเกียรติยศ ยกออกนครไปรับพระเวสสันดร กลับสู่เวียงวังด้วยทรงคิดถึงราชบุตรและสำนึกผิดแล้ว 
ข้อคิดประจำกัณฑ์
คนดีตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ ย่อมได้รับความปกป้องคุ้มครองภัยในที่ทุกสถาน


12.กัณฑ์ฉกษัตริย์ 
พระเจ้ากรุงสญชัยใช้เวลา 1 เดือน กับ 23 วัน  จึงเดินทางถึงเขาวงกต  เสียงโห่ร้องของทหารทั้ง 4  เหล่า ทำให้พระเวสสันดรทรงคิดว่าเป็นข้าศึกมาโจมจีนครสีพี  จึงชวนพระนางมัทรีขึ้นไปแอบดูที่ยอดเขา  พระนางมัทรีทรงมองเห็นกองทัพพระราชบิดาจึงได้ตรัสทูลพระเวสสันดร  และเมื่อทั้งหกกษัตริย์ได้พบกันทรงกันแสงสุดประมาณ  รวมทั้งทหารเหล่าทัพทำให้ป่าใหญ่สนั่นครั่นครืน  พระอินทร์จึงได้ทรงบันดาลให้ฝนโบกขรพรรษตกลงมาประพรมกษัตริย์ให้หายเศร้าโศกและฟื้นพระองค์
ข้อคิดประจำกัณฑ์
สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้ผิด บรรพชิตยังรู้เผลอ ความผิดพลาดเป็นเรื่องของมนุษย์ แต่การให้อภัยเป็นวิสัยของเทวดา


13. กัณฑ์นครกัณฑ์ 
เมื่อพระเวสสันดรทรงลาผนวชแล้ว ทรงสั่งลาพระอาศรม รับเครื่องทรงกษัตริย์ แล้วเสด็จกลับไปครองเมืองสีพี พระเวสสันดรเสด็จขึ้นครองราชย์ครองแผ่นดิน ทำให้ไพร่ฟ้าเสนาอำมาตย์มีสุขสงบกันทั่วทั้งแคว้น ชาวเมืองต่างก็หมั่นถือศีลบำเพ็ญกุศลตามสัตย์อธิษฐานของพระเวสสันดร กษัตริย์เมืองกลิงคราฐก็นำช้างปัจจัยนาเคนทร์มาถวายคืน เพราะบ้านเมืองมีฝนตกต้องตามฤดูกาลแล้ว พระเวสสันดรก็ทรงอยู่ในทศพิธราชธรรม และยังคงทรงบริจาคทาน จนพระชนมายุได้ ๑๒๐ พรรษาจึงสวรรคตแล้วไปปรากฎอุบัติเป็นท้าวสันดุสิตเทพบุตร บนสวรรค์ชั้นดุสิต รวมระยะเวลาที่พระเวสสันดร มัทรี ชาลี กัณหา ต้องนิราศจากพระนครไปอยู่ป่า เป็นเวลา ๑ ปี ๑๕ วัน
ข้อคิดประจำชาดก
ชาดกเรื่องนี้มีคติธรรม สั่งสอนให้คนเราเพียรประกอบคุณงามความดีโดยมิท้อถอย หากรู้จักสละทรัพย์บริจาคทานเนื่องนิจก็จะเป็นที่สรรเสริญทั่วไป คนโลภคนจิตบาปหยาบร้ายก็ต้องได้ภัยเพราะตัวเอง ดั่งชูชกนั้นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น